วิธีการหนึ่งที่สามารถใช้สังเกตได้ง่ายๆ ว่าสินค้าอะไรยี่ห้อใดกำลัง “รุ่ง” คือการมองไปในตลาดว่า สินค้านั้นกำลังมีผู้เล่นรายใหม่ๆ พยายามกระโดดเข้ามาแย่งมาร์เก็ตแชร์กันอย่างอุตลุด และมีการตั้งชื่อสินค้าเลียนแบบเจ้าตลาดหรือไม่ เหมือนสมัยหนึ่งที่ชาเขียว “โออิชิ” กำลังฮอต ก็มีแบรนด์อื่นๆ กระโดดเข้ามาเล่นตามนับสิบราย เป็นต้น แถมยังตั้งชื่อไปในโทนเดียวกันเป๊ะ
การมาของแบรนด์อย่าง “เถ้าแก่เนี้ย”, “ตี๋น้อย” และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นดัชนีชี้วัดได้เป็นอย่างดีว่า อุณหภูมิการแข่งขันของตลาดสแน็กสาหร่ายในปี 2552 ที่มี “เถ้าแก่น้อย” เป็น “ตั้วเฮีย” ผู้นำในตลาดนั้น กำลัง “เร่าร้อน” และ “น่าเร้าใจ” เพียงใด
เพราะไม่ว่าใครที่เห็น Success Story ของเถ้าแก่น้อย ต่างก็น้ำลายสอจนต้องขอเดินตามเข้ามาเล่นกันเป็นแถว
การมาของแบรนด์อย่าง “เถ้าแก่เนี้ย”, “ตี๋น้อย” และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นดัชนีชี้วัดได้เป็นอย่างดีว่า อุณหภูมิการแข่งขันของตลาดสแน็กสาหร่ายในปี 2552 ที่มี “เถ้าแก่น้อย” เป็น “ตั้วเฮีย” ผู้นำในตลาดนั้น กำลัง “เร่าร้อน” และ “น่าเร้าใจ” เพียงใด
เพราะไม่ว่าใครที่เห็น Success Story ของเถ้าแก่น้อย ต่างก็น้ำลายสอจนต้องขอเดินตามเข้ามาเล่นกันเป็นแถว
เปลี่ยน Passion เป็นโอกาส
แม้ในอดีต “อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์” หรือ “ต๊อบ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จะเคยเป็นหนุ่มน้อยหน้าตี๋ที่เกเร ย้อมผมทอง และติดเกมงอมแงม แต่เขาก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ถ้าตั้งใจจะทำอะไรแล้ว เขาต้องทำให้ได้
จากเด็กน้อยที่อยากเป็นนักธุรกิจเหมือนคุณพ่อ เพราะรู้สึกว่า “เท่” เวลาที่พ่อเดินไปไหนมาไหนแล้วมีลูกน้องคอยยกมือไหว้สวัสดี แต่เมื่อเติบใหญ่ฝันนั้นก็ค่อยๆ เลือนลางไปพร้อมๆ กับความเกเรของตัวเอง
จนวันหนึ่งเมื่อพี่ชายมาชวนให้ต๊อบทดลองเล่นเกมออนไลน์ ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไป
ด้วยความชอบและความมุ่งมั่น ไม่นานต๊อบก็กลายเป็นที่หนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ที่มีผู้เล่น 4-5 แสนคน จนมีคนมาขอเสนอซื้อไอเท็มจากเขาพร้อมโอนเงินก้อนแรกมาให้ ประกายไฟที่เริ่มริบหรี่จึงถูกจุดขึ้นอีกครั้ง
“พอมาเล่นเกมแล้วหาเงินได้ก็เริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันไม่ยากอย่างที่คิด ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่งก็หาเงินได้ นั่นคือจุดเริ่มต้น”
แม้ในอดีต “อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์” หรือ “ต๊อบ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จะเคยเป็นหนุ่มน้อยหน้าตี๋ที่เกเร ย้อมผมทอง และติดเกมงอมแงม แต่เขาก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ถ้าตั้งใจจะทำอะไรแล้ว เขาต้องทำให้ได้
จากเด็กน้อยที่อยากเป็นนักธุรกิจเหมือนคุณพ่อ เพราะรู้สึกว่า “เท่” เวลาที่พ่อเดินไปไหนมาไหนแล้วมีลูกน้องคอยยกมือไหว้สวัสดี แต่เมื่อเติบใหญ่ฝันนั้นก็ค่อยๆ เลือนลางไปพร้อมๆ กับความเกเรของตัวเอง
จนวันหนึ่งเมื่อพี่ชายมาชวนให้ต๊อบทดลองเล่นเกมออนไลน์ ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไป
ด้วยความชอบและความมุ่งมั่น ไม่นานต๊อบก็กลายเป็นที่หนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ที่มีผู้เล่น 4-5 แสนคน จนมีคนมาขอเสนอซื้อไอเท็มจากเขาพร้อมโอนเงินก้อนแรกมาให้ ประกายไฟที่เริ่มริบหรี่จึงถูกจุดขึ้นอีกครั้ง
“พอมาเล่นเกมแล้วหาเงินได้ก็เริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันไม่ยากอย่างที่คิด ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่งก็หาเงินได้ นั่นคือจุดเริ่มต้น”
สร้างธุรกิจจากคำถามง่ายๆ
เมื่อมีขึ้นก็ย่อมมีลง เกมออนไลน์ที่เคยเฟื่องฟูก็ไม่พ้นวัฏจักรของ Product Life Cycle ที่เมื่อถึงเวลาเสื่อมถอย รายได้ของต๊อบก็หดหาย ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัวเขาอย่างจัง
“มีอยู่วันหนึ่งผมไม่มีเงิน ก็เดินไปขอคุณแม่ คุณแม่เดินเข้าไปหยิบเงินในห้องนานมาก ประมาณ 10 กว่านาที ผมเลยเดินตามเข้าไป เห็นคุณแม่กำเงินไว้ทั้งน้ำตา จึงเกิดแรงบันดาลใจว่าต้องทำอะไรสักอย่าง”
สิ่งที่เคยวาดฝันไว้ในวัยเยาว์ว่าอยากเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวยจึงเริ่มผุดเข้ามาในสมองเขาอีกครั้ง
วันหนึ่งเขาไปเดินงานแฟร์และพบกับแฟรนไชส์เครื่องคั่วเกาลัดจากประเทศญี่ปุ่น ด้วยความที่ชอบกินเกาลัดเป็นทุนเดิม จึงเกิดคำถามง่ายๆ ขึ้นมาในใจว่า “ทำไมคนอยากกินเกาลัดต้องไปซื้อที่เยาวราช” และคำถามนั้นก็กลายเป็นที่มาของธุรกิจแฟรนไชส์เกาลัดแบรนด์ “เถ้าแก่น้อย” ที่เติบโตมาจากเงินทุนของตัวเขาเองได้ในเวลาไม่นานนัก
แม้ต้องล้มลุกคลุกคลานในระยะแรก แต่เขาก็ปลุกปั้นเกาลัด “เถ้าแก่น้อย” จนสามารถขยายสาขาได้กว่า 30 สาขา ในระยะเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น
แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็มาถึงอีกครั้ง เมื่อวันหนึ่งเขาไปเดินตรวจร้านของตัวเองตามห้างสรรพสินค้า ด้วยความหิวเขาจึงแวะเวียนไปที่ร้านไอศกรีมแดรี่ควีนเจ้าประจำ และสังเกตเห็นสิ่งง่ายๆ ที่ใครๆ ก็เห็นว่า นอกจากไอศกรีมแล้วภายในร้านยังมีไส้กรอกวางขายอยู่ด้วย
คำถามง่ายๆ ที่เกิดขึ้นว่า “ทำไมร้านเราไม่มีไส้กรอกขายบ้าง” จึงกลายเป็นไอเดียให้ต๊อบขยาย Product Line จากเกาลัด ไปสู่ลำไยอบแห้ง ลูกพลับแห้ง และขยายไปสู่ “สาหร่ายทอด” ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำให้ฝันของเขากลายเป็นจริงในเวลาต่อมา
เมื่อมีขึ้นก็ย่อมมีลง เกมออนไลน์ที่เคยเฟื่องฟูก็ไม่พ้นวัฏจักรของ Product Life Cycle ที่เมื่อถึงเวลาเสื่อมถอย รายได้ของต๊อบก็หดหาย ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัวเขาอย่างจัง
“มีอยู่วันหนึ่งผมไม่มีเงิน ก็เดินไปขอคุณแม่ คุณแม่เดินเข้าไปหยิบเงินในห้องนานมาก ประมาณ 10 กว่านาที ผมเลยเดินตามเข้าไป เห็นคุณแม่กำเงินไว้ทั้งน้ำตา จึงเกิดแรงบันดาลใจว่าต้องทำอะไรสักอย่าง”
สิ่งที่เคยวาดฝันไว้ในวัยเยาว์ว่าอยากเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวยจึงเริ่มผุดเข้ามาในสมองเขาอีกครั้ง
วันหนึ่งเขาไปเดินงานแฟร์และพบกับแฟรนไชส์เครื่องคั่วเกาลัดจากประเทศญี่ปุ่น ด้วยความที่ชอบกินเกาลัดเป็นทุนเดิม จึงเกิดคำถามง่ายๆ ขึ้นมาในใจว่า “ทำไมคนอยากกินเกาลัดต้องไปซื้อที่เยาวราช” และคำถามนั้นก็กลายเป็นที่มาของธุรกิจแฟรนไชส์เกาลัดแบรนด์ “เถ้าแก่น้อย” ที่เติบโตมาจากเงินทุนของตัวเขาเองได้ในเวลาไม่นานนัก
แม้ต้องล้มลุกคลุกคลานในระยะแรก แต่เขาก็ปลุกปั้นเกาลัด “เถ้าแก่น้อย” จนสามารถขยายสาขาได้กว่า 30 สาขา ในระยะเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น
แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็มาถึงอีกครั้ง เมื่อวันหนึ่งเขาไปเดินตรวจร้านของตัวเองตามห้างสรรพสินค้า ด้วยความหิวเขาจึงแวะเวียนไปที่ร้านไอศกรีมแดรี่ควีนเจ้าประจำ และสังเกตเห็นสิ่งง่ายๆ ที่ใครๆ ก็เห็นว่า นอกจากไอศกรีมแล้วภายในร้านยังมีไส้กรอกวางขายอยู่ด้วย
คำถามง่ายๆ ที่เกิดขึ้นว่า “ทำไมร้านเราไม่มีไส้กรอกขายบ้าง” จึงกลายเป็นไอเดียให้ต๊อบขยาย Product Line จากเกาลัด ไปสู่ลำไยอบแห้ง ลูกพลับแห้ง และขยายไปสู่ “สาหร่ายทอด” ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำให้ฝันของเขากลายเป็นจริงในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น